การแก้ไขที่สาเหตุเพื่อป้องกันเส้นเลือดฟอกไตโป่งพอง
ได้แก่ เมื่อพบว่าเส้นเลือดฟอกไตโตขึ้นเร็วผิดปกติ ควรตรวจเบื้องต้นกับศัลยแพทย์หลอดเลือดเพื่อหาสาเหตุ โดยการทำอัลตร้าซาวด์และอาจจำเป็นต้องฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นฟอกไตเพื่อหาตำแหน่งที่ตีบ แล้วทำบอลลูนขยายเส้นตีบอาจร่วมกับการใส่ขดลวดค้ำยัน (stent) ในบางราย โดยควรที่จะทำก่อนเกิดปัญหาเส้นเลือดโป่งพองเพราะถ้าเส้นเลือดโป่งพองมาก ๆ แล้วแม้จะขยายจุดตีบด้วยบอลลูนแล้วเส้นเลือดที่โป่งพองก็จะไม่ยุบลง คือ โป่งพองแล้วโป่งเลยไม่ยุบกลับลงเช่นเดิม
กรณีที่เส้นเลือดฟอกไตโป่งพองมากๆ และมากเกินไปจนไม่สามารถแก้ไขได้ แพทย์บางท่านอาจจะให้ใช้ไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเตรียมทำเส้นใหม่ไว้ล่วงหน้าและเมื่อเส้นใหม่ใช้ฟอกเลือดได้แล้วแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาเส้นที่โป่งพองออก และฟอกเลือดด้วยเส้นฟอกไตเส้นใหม่
การผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไตโป่งพอง( Aneurysm of AVF )
การผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไตโป่งพอง
เส้นเลือดฟอกไตโป่งพอง ( Aneurysm of AVF )
เส้นเลือดฟอกไตโป่งพอง คือ เส้นเลือดฟอกไตชนิดเส้นเลือดตัวเองหรือเส้นเลือดจริง (AVF) เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ในบางรายจะเกิดปัญหาเรื่องเส้นเลือดโป่งโตใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะยังใช้แทงฟอกเลือดได้ตามปกติก็ตาม ซึ่งเมื่อเส้นเลือดโตโป่งพองมากขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น โป่งพองจนมีบางส่วนมีแผลปริแตกเลือดพุ่งออกมา, เกิดกระแสเลือดหมุนวนผิดปกติจนส่งผลต่อการฟอกเลือด หรืออาจเกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือมีอาการปวดตามแนวเส้นเลือดที่โป่งพอง เป็นต้น
ปัญหาของเส้นเลือดฟอกไตโป่งพองที่เพิ่มเติม ได้แก่
-มีขนาดใหญ่ขึ้นจนน่ารำคาญน่าเกลียด
-คนไข้ต้องปกปิดก้อนที่โป่งพอง ไม่สามารถใส่เสื้อแขนสั้นได้
-คุณหมอผ่าตัดไม่พิจารณาผ่าเอาออกเพราะมีเส้นฟอกไตที่จุดอื่นแล้ว และการผ่าตัดอาจยุ่งยากใช้เวลาผ่าตัดนาน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ง่าย เช่น ตัดเส้นประสาทหรืออาจต้องตัดต่อเส้นเลือดแดงด้วย
สาเหตุการเกิดภาวะเส้นเลือดฟอกไตโป่งพอง
ส่วนหนึ่งของปัญหานี้ เกิดจากการตีบตันบริเวณเส้นเลือดดำใหญ่ในอก (มักเจอในผู้ที่มีประวัติแทงใส่สายที่คอมาก่อน) หรือเส้นเลือดดำตีบบริเวณหัวไหล่( Cephalic arch stenosis ) ซึ่งพบได้แม้ไม่มีประวัติแทงเส้นมาก่อน เมื่อเกิดเส้นเลือดตีบเลือดไหลกลับเข้าหัวใจไม่ได้จะทำให้เกิดกระแสการไหลของเลือดคั่งค้าง แรงดันภายในเส้นเลือดสูงขึ้นจึงดันให้เส้นเลือดขยายตัวโป่งพองขึ้น