ความรู้เพิ่มเติมสำหรับพยาบาลไตเทียม
เส้นฟอกไต VASCULAR ACCESS FOR HEMODIALYSIS
การหยุดยาต้านเกล็ดเลือด ( Antiplatelet ) และ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant ) ก่อนผ่าตัด จำเป็นหรือไม่
การหยุดยาต้านเกล็ดเลือด ( Antiplatelet ) และ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant ) ก่อนผ่าตัด จำเป็นหรือไม่
1. Antiplatelet (ยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด หรือ เรียกสั้นๆว่า ยาต้านเกล็ดเลือด) คือ กลุ่มยาที่ใช้ลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด (ดูตัวอย่างชื่อยาจากรูปที่ 1) ทำให้เลือดหยุดไหลช้าหรือไม่ยอมหยุดไหล
2. Anticoagulant (ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด) คือ เป็นยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด โดยออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการก่อตัวของลิ่มเลือด (ดูตัวอย่างชื่อยาจากรูปที่ 2 )
ข้อควรพิจารณาในการหยุดยาต้านเกล็ดเลือดและยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
1. ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มยาที่ต้องพิจารณาก่อนทำหัตถการหรือก่อนผ่าตัด โดยก่อนทำหัตถการหรือผ่าตัดควรจะต้องหยุดยากลุ่มเหล่านี้เพื่อลดปัญหาเลือดหยุดไหลยาก
2. แต่ถ้าคนไข้จำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่องและไม่สามารถหยุดยา 2 กลุ่มนี้ก่อนทำหัตถการหรือผ่าตัดได้ เพราะอาจมีผลต่อการควบคุมโรคประจำตัวที่สำคัญของคนไข้ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงควรต้องระวังอย่างมากในการทำหัตถการหรือผ่าตัด
3. ในการผ่าตัดทำเส้นฟอกไตทั้งหลอดเลือดจริงและหลอดเลือดเทียม ซึ่งมีการผ่าตัดเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดจริงกับหลอดเลือดเทียม แรงดันในหลอดเลือดที่สูงอาจทำให้มีโอกาสรั่วซึมของเลือดบริเวณรอยต่อของหลอดเลือดที่เชื่อมต่อได้ และกรณีคนไข้ที่ไม่ได้หยุดยา 2 กลุ่มนี้อาจมีปัญหาเลือดหยุดไหลยากได้
ข้อสำคัญในกรณีต้องรับการผ่าตัดทำเส้นฟอกไตในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหยุดยาต้านเกล็ดเลือด ( Antiplatelet )
# หากกรณีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจำเป็นจะต้องผ่าตัดทำเส้นฟอกไตโดยไม่สามารถหยุดยากลุ่มนี้ แพทย์และคนไข้จะต้องมีการพิจารณาตามความเร่งด่วนของหัตถการโดยมีหลักการพื้นฐานดังนี้
# ในกรณีคนไข้ที่ทานยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด โดยปกติแพทย์มักจะให้หยุดยา ประมาณ 7-10 วัน ยกเว้นยาบางตัวที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างอ่อนหรือฤทธิ์ยาไม่แรงมากอาจจะให้หยุดยาก่อนทำหัตถการ 2-3 วันได้ (โดยดูจากรูปภาพที่ 1 เป็นรายการชื่อยาและจำนวนวันที่ควรหยุดก่อนทำหัตถการ)
# ยาต้านเกล็ดเลือด Cilostazol (Pletaal)ฤทธิ์ยาไม่แรงมาก ให้หยุดยาก่อนทำหัตถการ 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นยากลุ่ม Clopidogrel (Plavix) ฤทธิ์ยามีความแรงมากขึ้น ควรหยุดยาก่อนทำหัตถการประมาณ 7-10 วัน
ข้อที่พิจารณาสำคัญในกรณีต้องรับการผ่าตัดทำเส้นฟอกไตในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหยุดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant )
# ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ส่วนใหญ่ยากลุ่มนี้คนไข้อาจจะได้รับยารับประทานหรือยาฉีด ที่มีการออกฤทธิ์ไม่นานมากนัก ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 วัน เพราะฉะนั้นยากลุ่มป้องกันการแข็งตัวของเลือดนี้ สามารถที่จะหยุดยาภายใน 1-2 วันก่อนทำหัตถการหรือผ่าตัดได้ แต่มียกเว้นกลุ่มยาดั้งเดิม กลุ่มยา Warfarin ที่ออกฤทธิ์ครอบคลุมนาน ควรงดยา 7-10 วัน และต้องดูผลตรวจเลือด PT, INR ร่วมด้วย ก่อนผ่าตัด
การ lock ยาฆ่าเชื้อเข้าสายฟอกเลือดชนิดกึ่งถาวรที่ติดเชื้อ
การ lock ยาฆ่าเชื้อเข้าสายฟอกเลือดชนิดกึ่งถาวรที่ติดเชื้อ
สายฟอกเลือดชนิดกึ่งถาวรติดเชื้อ การรักษาอาจต้องรักษาร่วมกันทั้ง
1. ให้ยาฆ่าเชื้อเข้าทางหลอดเลือดดำ
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดเดียวกันกับที่ให้ทางหลอดเลือดดำมา lock สายฟอกเลือดชนิดกึ่งถาวรที่ติดเชื้อด้วย
3. หลังจากคนไข้อาการดีขึ้นแล้ว ควรพิจารณา เปลี่ยนสายฟอกเลือด ใส่เส้นใหม่แต่ด้านเดิม (Exchange over the wire) เพราะเชื้อมักเกาะติดผนังด้านในของท่อของสายฟอกเลือดชนิดกึ่งถาวรนั้น และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยกลับมาติดเชื้อเข้ากระแสเลือดอีกได้ง่าย
# ดูตามในรูป…เป็นตัวอย่างการรักษาด้วยยา และวิธีผสมยาฆ่าเชื้อที่ใช้ lock สายฟอกเลือด ซึ่งต้องพิจารณาว่า ยาที่ใช้ lock ควรมีความเข้มข้นที่ต้องการเท่าไร และยามีส่วนผสมของ heparin ที่ผสมแล้วต้องการความเข้มข้นเท่าไรด้วย
# ตัวอย่าง : ถ้าต้องการยาCeftazidime ที่มีความเข้มข้น 10mg/mLและHeparin ความเข้มข้นที่ 1000 units/mL และ นำยาที่ผสม heparin แล้วมา lock สายฟอกเลือดโดยใช้ปริมาณเท่ากับ Priming Volume ของแต่ละท่อ A และ V ของสายฟอกเลือด
# หมายเหตุ : ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ Lock อาจเป็นยาชนิดอื่นตามการตอบสนองของยาต่อเชื้อโรคหรือตามที่แพทย์สั่ง
# ขอขอบคุณ อ.ภญ. จาฏพัจน์ เหมพรรณไพเราะ จากคณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ทำ รูป diagram ที่สวยงาม ของตัวอย่างวิธีการผสมยา Antibiotic Locking Therapy(ALT) Vancomycin และ Cefazolin
# จากตัวอย่าง อย่าเอาไปใช้ตามนี้นะครับ ต้องให้แพทย์ที่รักษาสั่งยาเท่านั้น